แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชน (Popular Participation) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการมีส่วนร่วม ของประชาชนนั้นมีหลายรูปแบบและหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามความต้องการของตนเองและลักษณะของชุมชนแต่มีจุดหมายหลักเดียวกัน คือเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนว่าเป็นการเข้ามามีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขและร่วมมีผลประโยชน์ซึ่งกระทำได้ 4 ลักษณะ
1. เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดว่าอะไรคือความจำเป็นพื้นฐาน
2. เป็นผู้ระดมทรัพยากรต่างๆ เพื่อสนองตอบต่อความจำเป็นพื้นฐาน
3. เป็นผู้มีบทบาทในการปรับปรุงงวิธีการกระจายสินค้าและบริการให้สมบูรณ์ขึ้น
4. เป็นผู้ได้รับความพอใจ และเกิดแรงจูงใจในการสร้างกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2) การมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นสองประเภทคือ
2.1 การส่งเสริมสิทธิและพลังอำนาจของพลเมือง โดยประชาชนหรือชุมชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ควบคุมการใช้ และการกระจายทรัพยากรของชุมชน อันจะก่อให้เกิดกระบวนการ และโครงสร้างที่ประชาชนในชนบท สามารถแสดงออกถึงความสามารถของตน และได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา
2.2 การเปลี่ยนแปลงกลไกการพัฒนาโดยรัฐ มาเป็นการพัฒนาที่ประชาชนมีบทบาทหลัก โดยการกระจายอำนาจในการวางแผนจากส่วนกลางมาสู่ส่วนภูมิภาคมีลักษณะเป็นเอกเทศ ให้มีอำนาจทางการเมือง การบริหารมีอำนาจต่อรองในการจัดการทรัพยากรโดยอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการคืนอำนาจในการพัฒนาให้แก่ประชาชนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตนเอง
ลักษณะของการมีส่วนร่วม
ได้แบ่งการมีส่วนร่วมออกเป็น 4 แบบ คือ
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Deeision Making) ประกอบด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ การริเริ่มตัดสินใจ การดำเนินการตัดสินใจ และการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการ
2. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ( Implementation) ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านทรัพยากร การบริหารงานและการประสานของความร่วมมือ
3. การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits)
4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)