วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

การสร้างภาพลักษณ์ (Image) คืออะไร

รับทำวิทยานิพนธ์, รับทำสารนิพนธ์, รับทำ IS, รับทำ thesis,รับทำ dissertation,รับทำ spss,รับทำ Essay,รับทำ assignment,วิทยานิพนธ์,สารนิพนธ์,รับทำวิจัย,รับทำปริญญานิพนธ์,รับทำดุษฎีนิพนธ์,รับทำการบ้าน,รับทำรายงาน,รับปรึกษาวิทยานิพนธ์,รับจ้างทำสารนิพนธ์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำว่า “ภาพลักษณ์” มีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า “ภาพพจน์” หรือมาจากคำในภาษาอังกฤษที่ว่า Image มีการใช้สับสนกับอยู่มาก บางตำราใช้คำว่าภาพลักษณ์ บางตำราใช้คำว่า
ภาพพจน์ ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทย ได้แจ้งต่อที่ประชุมของคณะกรรมการว่า คำว่า “ภาพพจน์” น่าจะมีความหมายตรงกับคำว่า Figure of Speech ซึ่งหมายถึงคำพูดที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ส่วนคำว่า ภาพลักษณ์หมายถึง ภาพที่เกิดจากความนึกคิด หรือทีคิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น

ทฤษฎีการสร้างภาพลักษณ์องค์การ ของ Gregory & Wiechmann, 1979 ได้กล่าวไว้ดังนี้
1. รับรู้ความต้องการของกลุ่มเป้ าหมาย และนำมากำหนดเป็นภาพลักษณ์ขององค์การหรือ
หน่วยงาน
2. ต้องกำหนดทิศทางให้ชัดเจนถึงเป้าหมายในการสร้างภาพลักษณ์องค์การ ผู้บริหารจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุด ในการกำหนดแนวทาง
3. รู้จักตนเองว่าองค์การหรือหน่วยงานมีภาพลักษณ์เป็นอย่างไร และภาพลักษณ์ที่ต้องการให้เกิดขึึ้นนั้น คืออะไร
4. ทําสิ่งสำคัญต้องรู้ว่าหน่วยงานกำลังทำอะไรอยู่ คือการเข้าใจงาน บทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
5. การสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์งานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้ตอบสนองต่อ
กลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
6. ความคงเส้นคงวา ความสมํ่าเสมอ ในการสร้างภาพลักษณ์
7. การประชาสัมพันธ์ในสิ่งที่ได้กระทำจริงหรือการปรับความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวลือ ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ