วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership)

ทฤษฏีภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพของ แบสส์ (Bass. 1999)

แบสส์ (Bass. 1999) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันสามารถที่จะจูงใจให้ผู้ตามปฏิบัติงานได้มากกว่าที่คาดหมายไว้ดังนั้นจึงวัดระดับความเป็นผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพโดยดูจากผลกระทบที่ผู้นำมีต่อผู้ตามของตนซึ่งได้กำหนดองค์ประกอบของการเป็นผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพไว้ 4 องค์ประกอบ คือ

การสร้างบารมี (Charisma) การคำนึงถึงความเป็นเอกบุคคล (Individualized Consideration) และการกระตุ้นปัญญา (Intellectual Stimulation) และสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation)

จากผลการศึกษาภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนภาพของเบนนิสและนานูส (Bennis&Nanus. 1995 citied in Yukl, 2002) พบว่าเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้นำเหล่านี่ต้องใช้กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การสร้างวิสัยทัศน์ (Developing a vision) การสร้างความผูกพันและเชื่อถือต่อวิสัยทัศน์ (Developing Commitment and Trust) และส่งเสริมการเรียนรู้ภายในองค์การ (Facilitating Organization Learning) (อัญชัญ เค็มกระโทก. 2547:7-9)

จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฏีของเบอร์น (Burns. 1978) แบสส์ (Bass. 1991);เบบนิสและนานูส (Bennis & Nanus. 1985) แบสส์และอโวลิโอ (BASS & Avolio. 1994) พบว่า ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพที่จะสามารถดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายประกอบด้วย

การสร้างวิสัยทัศน์ การถ่ายทอดวิสัยทัศน์และการปลูกฝังค่านิยม (vision,projecting the vistion and value driven )

เบนนิส และนานุส กล่าวว่า วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพฝันที่เป็นไปได้และเป็นภาพในอนาคตที่องค์การ และผู้ปฏิบัติปรารถนา ซึ่งจะต้องกล่าวออกมาชัดเจนสามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลได้น่าเชื่อถือ และเป็นภาพในอนาคตที่ดึงดูดใจ