วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

ตัวแบบพฤติกรรมการซื้อ( Buying Behavior Model)

รับทำวิทยานิพนธ์,รับทำสารนิพนธ์, รับทำ IS, รับทำ thesis,รับทำ dissertation,รับทำ spss,รับทำ Essay,รับทำ assignment,วิทยา นิพนธ์,สารนิพนธ์,รับทำวิจัย,รับทำปริญญานิพนธ์,รับทำดุษฎีนิพนธ์,รับทำ การบ้าน,รับทำรายงาน,รับปรึกษาวิทยานิพนธ์,รับจ้างทำสารนิพนธ์,หัวข้อ,เรื่อง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแบบพฤติกรรมการซื้อ( Buying Behavior Model)

ตัวแบบพฤติกรรมการซื้อของวิลเลี่ยม เจ สแตนตัน สแตนตัน (Stanton ,1987)

ตัวแบบพฤติกรรมการซื้อของวิลเลี่ยม เจ สแตนตัน สแตนตัน (Stanton 1987, 101) ได้ติดตัวแบบเพื่อ อธิบาย พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคไว้ว่าพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่แสดงออกมาในรูปของกระบวนการตัดสินใจเป็นขั้นตอนที่เกิดจากพลังผลักดัน 4 อย่างซึ่งมีอิทธิพลต่อกระบวนการการตัดสินใจของผู้ซื้อผู้บริโภค พลังผลักดันดังกล่าวได้แก่ผลิตภัณฑ์ ตรา ราคา ลักษณะ ผลประโยชน์และสถานที่ที่จะซื้อเป็นต้น หากไม่มีข้อมูล กระบวนการตัดสินใจซื้อจะเกิดขึ้นไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารเกิดจาก 2 แหล่งสำคัญ คือ จากการโฆษณาการค้าโดยผ่านสื่อต่าง ๆ และแหล่งข่าวสารจากสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อฝูง และผู้คุ้นเคย ซึ่งได้รับจากการพูดคุยกันเป็นต้น

ตัวแบบพฤติกรรมการซื้อของออลพอร์ท ออลพอร์ท (Allport)
เน้นการวิเคราะห์ทางจิตและสังคมโดยแสดงให้เห็นถึงปัจจัย 2 ส่วนที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้แก่
- ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางวัฒนธรรม
- ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น
กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยส่วนบุคคลในส่วนของประชาชนหรือการหยั่งรู้ การจูงใจและบุคลิกภาพของผู้บริโภคโดยปัจจัยส่วนบุคคลได้รับอิทธิพลจากสังคมในส่วนของกลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มอ้างอิงต่าง ๆ ในสงคมและปัจจัยทางสังคมก็ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางวัฒนธรรมในส่วนที่เป็นชั้นทางสังคมและวัฒนธรรม สำหรับปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นนั้นจะเป็นส่วนของตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ

ตัวแบบพฤติกรรมการซื้อของฟิลลิป คอตเลอร์ คอตเลอร์ (Kotler, Philiip, 1994)

ได้คิดตัวแบบขึ้นเพื่ออธิบายพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคโดยอาศัยทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ว่าพฤติกรรมเกิดขึ้นได้จะต้องมีสาเหตุหรือสิ่งเร้า(Stimulus) ทำให้เกิดสิ่งเร้าดังกล่าวจะเป็นตัวป้อนเข้า (Input) ผ่านเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคซึ่งเปรียบเสมือน “กล่องดำ” หรือ (Black Box) ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลและวัฒนธรรม สังคม จิตวิทยาและปัจจัยส่วนบุคคล จากนั้นจึงแสดงพฤติกรรมตอบสนอง (Response) ต่อสิ่งเร้าในรูปแบบของการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อจุดเริ่มต้นของตัวแบบพฤติกรรมการซื้อของฟิลลิป คอตเลอร์อยู่ที่มีสิ่งเร้า (Stimulus) ทำให้เกิดความต้องการก่อนจึงเกิดการตอบสนอง (Response) ตัวแบบนี้จึงเรียกว่า “Stimulus Repsponse Model”